บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

.......ความหมายของเทคโนโลยี
เทคโนโลยี (technology) หมายถึง วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
........หลักการใช้เทคโนโลยี
1. ประสิทธิภาพของงาน (efficiency) ช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายรวดเร็วตรวจสอบได้
2. ประสิทธิผล (productivity) ช่วยให้งานได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากกว่าปกติที่ไม่ใช้เทคโนโลยี

3. ประหยัด (economy) ช่วยประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานเพื่อการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าทุนที่ลงไป
.......เทคโนโลยีกับงานสาขาต่างๆ
-เทคโนโลยีทางการทหาร หมายถึง วิธีการนำเอาความรู้มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานทางการทหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
-เทคโนโลยีทางการแพทย์ หมายถึง วิธีการในการนำเอาความรู้แนวคิดมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานทางการแพทย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
......ความหมายของการศึกษา
การศึกษา (education) มีความหมายกว้างขวางครอบคลุมการพัฒนา การส่งเสริมมนุษย์และสังคมให้มี่ความเจริญงอกงามในทุกด้านทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง รวมเอาแหล่งการเรียนรู้ทั้งหลายที่ออกแบบเลือกหรือนำมาใช้เพื่อมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายที่ผู้เรียนประสบผลสำเร็จตามต้องการ
.........
ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
1. ทำให้มีการเรียนการสอน การจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้
3. สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
4. ใช้ให้การจัดการศึกษามีพลังมากขึ้น
5. ทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
6. ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา
.......ความหมายของเทคโนโลยีการสอน
เทคโนโลยีการสอนเป็นภาพของการแสวงหาแนวทาง และวิธีปฏิบัติเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
......การเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน
- เทคโนโลยีการศึกษา เป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อนเกี่ยวข้องกับบุคคล วิธีการ แนวคิด เครื่องมือ และองค์กร
-เทคโนโลยีการสอน เป็นองค์ประกอบย่อยที่สำคัญส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา เป็นกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา และการวางแผน
.......การเปรียบเทียบขอบเขตของเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน
ขอบเขตของเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน มีความแตกต่างกันในด้านบทบาทหน้าที่ในการจัดการ การพัฒนา ทรัพยากรการเรียนรู้ และกลุ่มเป้าหมาย
........ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆ ที่ผ่านการพิสูจน์แล้วนำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
........ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง ความคิดหรือวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการพิสูจน์ทดสอบจนเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ นำมาใช้ในการส่งเสริม ปรับปรุงให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.........ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งเป็นนวัตกรรม ได้ดังนี้
1. เป็นความคิดหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจนำมาทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนเพื่อปรับปรุงงานเต็มที่เคยมีมาก่อนให้ดีขึ้น
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจน
4. ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ต้องมีความเป็นอิสระในตัวมันเองเสมอจะถูกนำมาใช้หรือไม่ก็ได้
........ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม
1. ขั้นการเกิดปัญหาหรือความต้องการและการรวบรวมข้อมูล
2. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น
3. ขั้นการพัฒนาหรือทดลอง
4. ขั้นการนำไปใช้จริง
.........ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและนวัตกรรม
นวัตกรรมและเทคโนโลยีเป้าหมายที่แน่นอนเป็นอย่างเดียวกัน คือ ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
.........สาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา
การนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ดังนี้
1. การเพิ่มจำนวนประชากร
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
3. ความก้าวหน้าด้านวิทยาการใหม่ๆ
........ความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนการสอน
เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาจึงมีบทบาทต่อการเรียนการสอน ดังนี้
1. ช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางและเข้าใจถูกต้องชัดเจนมากขึ้น
2. สนองตอบเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
3. ทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพสูงขึ้น
4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
5. ทำให้กระบวนการเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว
6. ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรมากขึ้น











บทที่ 2 วิธีระบบ

.......ความหมายของวิธีระบบ
ระบบ คือ ภาพรวมของโครงการหรือขวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์
ประกอบต่างๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงสร้างหรือขบวนการนั้น
........องค์ประกอบของระบบ
มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1. ข้อมูลป้อนเข้า (input) ได้แก่ วัตถุดิบ ข้อมูลดิบ ปัญหา ความต้องการ วัตถุประสงค์ ข้อกำหนด กฎเกณฑ์
2. กระบวนการ (process) ได้แก่ วิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอนซึ่งอาจเป็นวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้
3. ผลลัพธ์ (output) ได้แก่ ผลงานท ได้มาจากข้อมูลป้อนเข้าและกระบวนการซึ่งจะนำไปประเมินผล
4. ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ได้แก่ ผลการประเมินการทำงานของระบบซึ่งสาสมารถประเมินย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน
......ขั้นตอนการจัดระบบ
เป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน โดยการรวบรวมข้อมูล และทรัพยากร วิเคราะห์ปัญหา และรวบรวมวิธีการแก้ปัญหา ประเมินผลลัพธ์ที่ได้ ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

.........ประกอบด้วยขั้นตอน 4 ขั้น
1. ขั้นการวิเคราะห์ระบบ (system analysis) แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อย คือ
1.1 วิเคราะห์แนวทางปฏิบัติงาน
1.2 วิเคราะห์หน้าที่
1.3 วิเคราะห์งาน
1.4 วิเคราะห์วิธีการและสื่อ
2. ขั้นการสังเคราะห์ระบบ (system synthesis) มีขั้นย่อยดังนี้
2.1 การเลือกวิธีการหรือกลวิธี
2.2 การแก้ปัญหา
2.3 การประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน
3. ขั้นการสร้างแบบจำลอง (construct a model)
วิธีการเขียนแบบจำลอง อาจเขียนได้หลายแบบ เช่น แบบจำลองแนวนอน แบบจำลองแนวตั้ง แบบจำลองแนวนอนผสมแนวตั้ง แบบจำลองวงกลมหรือวงรี แบบจำลองกึ่งแผนกึ่งรูปภาพ แบบจำลองเชิง คณิตศาสตร์ เป็นต้น

4. ขั้นการจำลองสถานการณ์ (systematical simulation) เป็นการทดลองใช้ระบบตามแบบจำลองที่สร้างขึ้นในสภาพการณ์เลียนแบบสถานการณ์จริง
.........วิธีระบบในการเรียนการสอน
1. ระบบการเรียนการสอนของเกอร์ลาช แบะอีลี ประกอบด้วย 10 ขั้นตอน
1.1 การกำหนดจุดมุ่งหมาย
1.2 การกำหนดเนื้อหา
1.3 การประเมินพฤติกรรมเบื้องต้น
1.4 การกำหนดกลยุทธวิธีการสอน
1.5 การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน
1.6 การกำหนดเวลาเรียน
1.7 การจัดสถานที่เรียน
1.8 การเลือกสรรทรัพยากร
1.9 การประเมิน
1.10 การวิเคราะห์ผลย้อนกลับ
2. ระบบการผลิตชุดการสอนแผนจุฬา มีขั้นตอนสำคัญ 10 ขั้นตอน
2.1 กำหนดหมวดหมู่เนื้อหาและประสบการณ์
2.2 กำหนดหน่วยการสอน
2.3 กำหนดหัวเรื่อง
2.4 กำหนดมโนทัศน์และหลักการ
2.5 กำหนดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับหัวเรื่อง
2.6 กำหนดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
2.7 กำหนดแบบประเมินผล
2.8 เลือกและผลิตสื่อการสอน
2.9 หาประสิทธิภาพชุดการสอน
2.10 การใช้ชุดการสอน
3. ระบบการสอนตามแนวพุทธวิธี สรุปได้ดังนี้
3.1 ขั้นนำ เป็นการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อการสร้างเจตคติที่ดีต่อครู เนื้อหาบทเรียน นอกจากนี้ยังเป็นขั้นการเสนอสิ่งเร้า และแรงจูงใจ
3.2 ขั้นสอน เป็นการนำสถานการณ์ ปัญหา และหลักการในการแก้ปัญหามาฝึกทักษะในการคิด และการปฏิบัติ
3.3 ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน เพื่อให้ได้ประเด็นและแนวคิดที่ชัดเจน
........วิธาระบบกับสื่อการเรียนการสอน
1. การผลิตสื่อ เป็นขั้นตอนการสร้างสรรค์วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการให้มีคุณภาพดี
2. การใช้สื่อ เป็นขั้นการแสดงสื่อในขณะทำการสอนหรือถ่ายทอดเนื้อหาให้ผู้เรียนมีประสบการณ์เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
3. การเก็บรักษาสื่อ จะช่วยให้การค้นหาหรือหยิบมาใช้ได้สะดวกรวดเร็ว ช่วยในการตรวจสอบได้ง่าย
.........รูปแบบจำลองการผลิตและการใช้สื่อแบบ The Assure Model
มีคำอธิบายดังต่อไปนี้
1. การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถในการรับรู้ และเรียนแตกต่างกัน การใช้สื่อการเรียน การสอนให้ได้ผลดี ต้องคำนึงถึงธรรมชาติของผู้เรียน เป็นสำคัญ เช่น วัย เพศ ระดับการศึกษา สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ความเชื่

2. การกำหนดวัตถุประสงค์ แต่ละเนื้อหาบทเรียนควรทำให้ครอบคลุมการเรียนด้านต่างๆ
2.1 ด้านความรู้ความเข้าใจ
2.2 ด้านจิตใจ
2.3 ด้านทักษะหรือความชำนาญ
3. การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อที่เหมาะสมมาใช้ประกอบการเรียนการสอน สามารถทำได้ 3 วิธี คือ
3.1 การเลือก
3.2 การดัดแปลง
3.3 การผลิต
4. การใช้สื่อ เป็นขั้นการแสดงสื่อประกอบการเรียนการสอนจริง ซึ่งครูผื้สอนต้องใช้เทคนิคและหลักการให้ดีที่สุด
5. การกำหนดการตอบสนองต่อสื่อและเนื้อหาบทเรียน
6. การประเมิน ใช้สื่อการเรียนการสอนสามารถทำได้ 3 ลักษณะ คือ
6.1 การประเมินกระบวนการสอน
6.2 การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน
6.3 การประเมินสื่อและวิธีการสอน


บทที่ 3 กระบวนการสื่อสาร

.........ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลต่างๆ หรือการถ่ายทอดความรู้ เนื้อหาสาระ ความรู้สึก เจตคติ ทักษะจากผู้ส่งไปยังผู้รับ
..........องค์ประกอบและกระบวนการสื่อสาร อธิบายได้ดังนี้
1. ผู้ส่ง หมายถึง แหล่งกำเนิดเนื้อหาสาระซึ่งอาจจะเป็นองค์กร บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่มีจุดมุ่งหมายหรือเจตนาจะส่งเนื้อหาสาระไปยังผู้รับ
2. เนื้อหาสาระ หมายถึง เนื้อหาสาระ ความรู้สึกนึกคิด เจตคติ ทักษะ ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในแหล่งกำเนิดหรือตัวผู้ส่งเอง
3. สื่อหรือช่องทาง หมายถึง ช่องทางต่างๆ ที่ใช้ในการส่งและรับรู้เนื้อหาสาระ ได้แก่ ตา หูจมูก ลิ้น และผิวกาย
4. ผู้รับ หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานที่รับรู้เนื้อหาสาระจากแหล่งกำเนิดหรือผู้ส่ง

..........หน้าที่ของกระบวนการสื่อสาร อาจจำแนกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่
1. การสื่อสารในฐานะเครื่องมือให้ได้สิ่งที่ต้องการ
2. การสื่อสารเพื่อควบคุมสั่งการ
3. การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์
4. การสื่อสารส่วนบุคคล
5. การสื่อสารเพื่อเสาะแสวงหาคำตอบ
6. การสื่อสารเพื่อสร้างจินตนาการ
...........รูปแบบของการสื่อสาร จำแนกได้ดังนี้
1. การจำแนกตามคุณลักษณะของการสื่อสาร แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1.1 การสื่อสารด้วยภาษาพูด
1.2 การสื่อสารด้วยภาษาท่าทางหรือสัญญาณ
1.3 การสื่อสารด้วยภาษาภาพ
2. จำแนกตามปฏิสัมพันธ์ของผู้รับและผู้ส่ง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 การสื่อสารทางตรง
2.2 การสื่อสารทางอ้อม
3. จำแนกตามพฤติกรรมในการตอบโต้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
3.1 การสื่อสารทางเดียว
3.2 การสื่อสารสองทาง
4. จำแนกตามจำนวนของผู้ร่วมสื่อสาร แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ
4.1 การสื่อสารในตนเอง
4.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล
4.3 การสื่อสารแบบกลุ่มบุคคล
4.4 การสื่อสารมวลชน
..........อุปสรรคในการสื่อสาร
การสื่อสารอาจล้มเหลวได้เนื่องจากอุปสรรคด้านต่างๆ ต่อไปนี้
1. ผู้ส่งสารขาดความสามารถและความตั้งใจในการเข้ารหัส
2. ความบกพร่องของสื่อหรือช่องทาง
3. ผู้รับสารขาดความรู้ความชำนาญเรื่องที่จะรับหรือไม่ตั้งใจรับ
4. อุปสรรคจากสิ่งรบกวน
5. สารหรือเนื้อหาสาระมีความยาวไม่เหมาะสม
6. ผู้ส่งและผู้รับมีความแตกต่างในด้านภาษา วัฒนธรรม และสังคม
..........การสื่อสารในการเรียนการาสอน
1. กระบวนการสื่อสารในการเรียนการสอน มุจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
2. ลักษณะการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน เป็นการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถประสบการณ์ ตลอดจนการอบรมสั่งสอน
3. การปรับใช้การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนควรใช้ภาษา สื่อสารสองทางให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อประเมินว่าการถ่ายทอดเนื้อหาสาระไปสู่ผู้เรียนได้ผลเป็นอย่างไร
4. ความล้มเหลวของการสื่อสารในกระบวนการเรียนการสอน อาจเกิดจากหลายสาเหตุหลายประการดังนี้ ครูไม่บอกจุดประสงค์ในการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนรู้ในเนื้อหาบทเรียนนั้นๆ





บทที่ 4 สื่อการสอน

........สื่อการสอน
........ความหมายของสื่อการสอน

สื่อการสอน หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการใดๆ ที่ครูนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน ให้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือตัวเชื่อมในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ ไปสู่ผู้เรียน
..........คุณค่าของสื่อการสอน
สื่อการสอนแต่ละชนิดมีคุณค่าในด้านต่างๆ ดั้งนี้
1. คุณค่าด้านวิชาการ ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5

2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ทำให้การเรียนเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น
3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น
.........คุณสมบัติของสื่อการสอน
สื่อการสอนแต่ละชนิดมีคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการ คือ
1. สามารถจับยึดประสบการณ์ กิจกรรม และการกระทำที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว
2. สามารถจัดแจง จัดการและปรับปรุงแต่งประสบการณ์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน

3. สามารถแจกจ่ายและขยายจำนวนของสื่ออกเป็นหลายฉบับ เพื่อเผยแพร่สู่ผู้เรียนจำนวนมากและสามารถใช้ซ้ำๆกันได้
.........ประเภทของสื่อการสอน
1. การจำแนกตามคุณสมบัติของสื่อ แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภท
1.1 วัสดุ เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา
1.2 อุปกรณ์ เป็นสื่อใหญ่ หรือสื่อหนัก
1.3 วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม เป็นสื่อที่ความหมายกว้างครอบคลุมสื่ออื่นๆ
2. การจำแนกตามแบบของสื่อ
2.1 สิ่งพิมพ์ เป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาในรูปของตัวหนังสือ
2.2 วัสดุกราฟิก เป็นสื่อที่แสดงเนื้อหาด้วยข้อความและรูปภาพ
2.3 วัสดุและเครื่องฉาย เป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาข้อความและรูปภาพลงในวัสดุฉาย
2.4 วัสดุถ่ายทอดเสียง เป็นสื่อที่นำเสนอเนื้อหาด้วยเสียง
3. จำแนกตามประสบการณ์ เรียงตามลำดับจากประสบการณ์ที่ง่ายไปยาก 10 ขั้น
เรียกว่ากรวยประสบการณ์ (cone of experiences) ดังนี้
ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรง
ขั้นที่ 2 ประสบการณ์จำลอง
ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ
ขั้นที่ 4 การสาธิ

ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่
ขั้นที่ 6 นิทัศการ

ขั้นที่ 7 โทรทัศน์และภาพยนตร์
ขั้นที่ 8 ภาพนิ่ง, วิทยุและการบันทึกเสียง
ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์
ขั้นที่ 10 วจนสัญลักษณ์
.........หลักการเลือกและใช้สื่อการสอน
1. การเลือก ควรพิจารณารายละเอียดของการเลือกใช้สื่อตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
1.1 การเลือกใช้สื่อตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
1.2 การเลือกใช้สื่อตามระดับคุณค่าของสื่อ
1.3 การเลือกใช้สื่อตามขนาดของกลุ่มผู้เรียน
2. การเตรียม การใช้สื่อการสอนมักจะกระทำหลังจากที่เลือกสื่อได้แล้

2.1 การเตรียมครุ ได้แก่ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
2.2 การเตรียมผู้เรียน ได้แก่ จัดให้ผู้เรียนนั่งให้เหมาะสมกับการใช้สื่อแต่ละประเภท
2.3 การเตรียมชั้นเรียน ได้แก่ จัดโต๊ะเก้าอี้ของผู้เรียนให้เพียงพอ
3. ขั้นการใช้หรือการแสดง เป็นการานำสื่อที่ได้เลือกและเตรียมไว้แล้วมาใช้ประกอบการสอนต่อหน้าผู้เรียน
4. ขั้นติดตามผล เป็นการติดตามเพื่อประเมินผลคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อ การเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน







บทที่ 5 สื่อการสอนประเภทวัสดุ

..............ความหมายของสื่อการสอนประเภทวัสดุ
สื่อการสอนประเภทวัสดุ หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่มีการผุพัง สิ้นเปลือง เช่น ฟิล์ม ภาพถ่าย ภาพยนตร์ สไลด์ และสิ่งของราคาย่อมเยาชนิดต่างๆ
.............ประเภทของสื่อวัสดุ
จำแนกตามคุณลักษณะที่ปรากฏแบ่งได้ 3 ประเภท
-สื่อวัสดุกราฟิก มีลักษณะ 2 มิติ
-สื่อวัสดุ 3 มิติ เป็นสื่อที่สร้างมาจากวัสดุต่างๆ
-สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่ใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

.............วัสดุกราฟิก
1. ความหมายของวัสดุกราฟิก
วัสดุกราฟิก หมายถึง สื่อการเรียนการสอนที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ งานกราฟิก ได้แก่ ภาพเขียนทั้งที่เป็นภาพสี ภาพขาวดำ ตัวหนังสือ เส้นและสัญลักษณ์
2. คุณค่าของวัสดุกราฟิก
วัสดุกราฟิกมีคุณค่าหลายประการดังนี้ คือ ราคาถูกครูสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง สามารถบรรจุความรู้ไว้ในตัวเอง และสื่อความหมายทันที เก็บรักษาง่ายใช้ได้สะดวก
3. ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก
วัสดุกราฟิกมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนดังนี้ คือ ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ตรงหัน
4. ลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดี
มีลักษณะดังนี้ คือ เนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียนมีรูปแบบง่ายต่อการรับรู้และการทำความเข้าใจ
5. การออกแบบวัสดุกราฟิก
ควรยึดหลักการดังนี้ คือ เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน ตรงตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน การออกแบบวัสดุกราฟิกต้องคำนึงถึงการสื่อความหมายเป็นสำคัญ
6. ข้อดีและข้อจำกัดของวัสดุกราฟิก
7. ประเภทของวัสดุกราฟิก
สื่อวัสดุที่นิยมใช้กับกระบวนการเรียนการสอนมีหลายประเภทดังนี้
7.1 แผนภูมิ (charts) เป็นวัสดุกราฟิกที่มีองค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์ และตัวอักษรสามารถทำด้วยแผ่นพลาสติก
7.2 แผนสถิติ (graphs) เป็นวัสดุลายเส้นที่เน้นการสื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข
7.3 แผนภาพ (diagrams) เป็นทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งของหรือระบบงาน
7.4 ภาพพลิก (flip charts) เป็นทัศนวัสดุที่เป็นภาพชุดของภาพวาด นำมาเย็บเล่มรวมกันเป็นเรื่องราวเดียวกันสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตั้งแต่ต้นจนจบ
7.5 ภาพชุด (flash cards) เป็นชุดของภาพที่เรียงลำดับเรื่องราวไว้แล้วเป็นขั้นๆ
7.6 แผ่นภาพ (cards) เป็นทัศนวัสดุอย่างง่ายๆ โดยนำรูปภาพมาผลึกกับกระดาษแข็งเป็นแผ่นๆ ไม่ต้องเย็บรวมเป็นเล่ม
7.7 ภาพโฆษณา (posters) เป็นสื่อทัศนวัสดุที่สร้างขึ้นประกอบการเรียนการสอน เพื่อการกระตุ้นชักชวนจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
7.8 แผ่นโปร่งใส (transparencies) เป็นทัศนวัสดุประเภทวัสดุฉาย ทำด้วยแผ่นอาซีเตท ใช้กับเครื่องฉายข้า ศีรษะ

..............สื่อวัสดุ 3 มิติ
1. ความหมายของสื่อวัสดุ 3 มิติ หมายถึง สิ่งซึ่งมีรูปทรงประกอบด้วยขนาดทั้ง 3 ทิศทาง คือมีส่วนกว้าง ส่วนยาวและส่วนหนา
2. ประเภทของสื่อวัสดุ 3 มิติ
2.1 หุ้นจำลอง (models) เป็นทัศนวัสดุชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริง มีลักษณะเป็น 3 มิติ
2.2 ของจริง (real object) หมายถึง สิ่งเร้าต่างๆที่มีสภาพเป็นของเดิมแท้ๆ
2.3 ป้ายนิเทศ (bulletin boards) เป็นวัสดุที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อทัศนวัสดุอื่นๆใช้แสดงเรื่องราวต่างๆด้วยวัสดุหลายชนิด
2.4 ตู้อันตรทัศน์(diorama) เป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3มิติเลียนแบบธรรมชาติ

..............สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
1. ความหมายของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นส่วนหนึ่งของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอบทเรียนจากเอกสาร ตำราให้อยู่ในรูปของสื่อการเรียนการสองทางคอมพิวเตอร์
2. ประเภทของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
สื่ออิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานที่ใช้กันทั่วไป มีดังนี้
2.1 เทปบันทึกเสียง (tape) เป็นวัสดุที่ใช้บันทึกเสียงในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
2.2 เทปวีดีทัศน์ (video tape) เป็นวัสดุที่สามารถใช้บันทึกภาพและเสียงไว้ได้พร้อมกันในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
2.3 แผ่นซีดี (compact disc) เป็นวัสดุพลาสติกบางๆมีลักษณะ เป็นแผ่นบางกลมผิวหน้าเคลือบด้วยวัสดุสะท้อนแสงเพื่อนป้องกันความปลอดภัยให้กับข้อมูลที่บันทึกไว้
2.4 แผ่นวีซีดี(VCD: video compact disc) เป็นวัสดุอิเล็ทรอนิกส์ที่บันทึก และอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ มีลักษณะทางกายภาพเหมือนแผ่นซีดีทั่วไป
2.5 แผ่นดีวีดี หรือแผ่น ดิจิทัลวีดิทัศน์ (digital video disc) เป็นแผ่นวิดีทัศน์ที่มีความคมชัดเทียบเท่าหรือดีกว่าแผ่นเลเซอร์วิดีโอดิสก์
2.6 แผ่นเอสวีซีดี(SVCD: Super VCD) เป็นแผ่นที่มีคุณลักษณะเพิ่มเติมจากแผ่นวีซีดี
2.7 แผ่นเอ็กซ์วีซีดี(XVCD: extended VCD) เป็นส่วนขยายของแผ่นวีซีดี
2..8 แผ่นเอ็กซ์เอสวีซีดี(XSVCD: extended SVCD) เป็นการผสมคุณลักษณะระหว่างเอ็กวีซีดีและดีวีดี


บทที่6 สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์

.............สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์หรือสื่ออุปกรณ์ ที่เรียกว่า โสตทัศนูปกรณ์ มีหน้าที่หลัก คือ การแสดงเนื้อหาทั้งที่เป็นภาพ และตัวอักษรให้มี่ขนาดใหญ่และเสียงดังที่เหมาะสม เครื่องมือระดั้บพื้นฐานที่มีใช้อยู่ทั่วไปจนถึงเครื่องมืออุปกรณ์รุ่นใหม่ โดยจำแนก 3 ประเภท ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ และเครื่องเสียง
เครื่องฉาย (projectors) เป็นอุปกรณ์ฉายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
1. ส่วนประกอบของเครื่องฉาย มีส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่
1.1 หลอดฉาย (projectors lamp) เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ส่องผ่านวัสดุฉายและเลนส์
1.2 แผ่นสะท้อนแสง (reflectors) ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากด้านหลังของหลอดฉายไปรวมกับแสงด้านหน้า
1.3 วัสดุฉาย (projectors materials) เป็นวัสดุรองรับเนื้อหาความรู้ไว้ในรูปของรูปภาพ ตัวอักษร และสัญลักษณ์
1.4 เลนส์ (lens) เป็นวัสดุโปร่งใสที่มีอยู่ในเครื่องฉายทั่วไป ทำด้วยแก้ว
1.5 จอ (screen) เป็นอุปกรณ์รองรับภาพจากเครื่องฉายชนิดต่างๆ
2. ประเภทของเครื่องฉาย
2.1 เครื่องฉายข้ามศีรษะ (overhead projectors) เครื่องมือที่ใช้กับการเรียนการสอนมาเป็นเวลานานมีหลายรูปแบบ
2.2 เครื่องฉายสไลด์ (slide projectors) เป็นทัศนูปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้มาเป็นเวลานาน
2.3 เครื่องฉายแอลซีดี (LCD: liquid crystal display) เป็นเครื่องฉายที่มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนมาก มีประสิทธิภาพในการแสดงผลที่ใช้พลังงานน้อย
2.4 เครื่องดีแอลพี (DLP: digital light processing) เป็นเครื่องถ่ายทอดสัญญาณระบบดิจิทัล ลักษณะเดียวกับเครื่องแอลซีดี แต่มีความคมชัดสูงกว่า
.................เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ
1. หน้าที่ของเครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ ทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูลจากวัสดุและแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อแปลงกลับเป็นสัญญาณและเส
2. ประเภทของเครื่องแปลงสัญญาณ มีหลายประเภท
2.1 เครื่องวิชวลไลเซอร์ เป็นเครื่องฉายแปลงได้ทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
2.2 เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เป็นเครื่องแปลงสัญญาณแม่เหล็กจากแถบเทปเป็นสัญญาณตามและเสียงถ่ายทอดออกจากจอโทรทัศน์ หรือผ่านเครื่องเล่นแอลซีดี
2.3 เครื่องเล่นวีซีดี เป็นเครื่องเล่นแผ่นดีวีดีระบบดิจิทัลที่บันทึกข้อมูลในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงแบบภาพวีดีทัศน์
2.4 เครื่องเล่นดีวีดี เป็นเครื่องเล่นแผ่นดีวีดีระบบดิจิทัลเพื่อเสนอทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวแบบภาพดีวีทัศน์และเสียงเพื่อฉายภาพบนจอโทรทัศน์
...............เครื่องเสียง
1. แหล่งกำเนิดเสียง
เสียง (sound) เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ พลังงานการสั่นสะเทือนจะจัดอากาศให้เป็นคลื่นออกไปโดยรอบ เรียกว่า คลื่นเสียง (sound wave)
2. ส่วนประกอบของการขยายเสียง ที่สำคัญมี 3 ส่วน คือ
- ภาคสัญญาณเข้า ทำหน้าที่สร้างสัญญาณ
- ภาคขยายเสียง ทำหน้าที่สร้างสัญญาณ

- ภาคสัญญาณออก ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณ
3. ไมโครโฟน
ไมโครโฟน (microphone) เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า
4. เครื่องขยายเสียง
เครื่องขยายเสียง (amplifier) ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้น
5. ลำโพง
ลำโพง (speaker) ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่ขยายแล้วให้กลับเป็นเครื่องเสียงปัจจุบันนิยมใช้ลำโพงชนิดขดลวดแม่เหล็ก

5.1 ประเภทของลำโพง การแปลงเสียงมี 4 ประเภท คือ
5.1.1 ลำโพงเสียงทุ้ม
5.1.2 ลำโพงเสียงกลาง
5.1.3 ลำโพงเสียงแหลม
5.1.4 ลำโพงกรวยซ้อน
5.2 การใช้ลำโพง มีวิธีดังนี้ คือ ต้องให้ค่าความต้านทานรวมของลำโพงเท่ากับค่าความต้านทานของช่องสัญญาณออก อย่าวางลำโพงไว้ด้านหน้าของไมโครโฟน เพราระจะทำให้เกิดเสียงหวีดหอน อย่าวางลำโพงให้สูงในระดับเดียวกับหูฟัง




บทที่ 7 สื่อการสอนประเภทกิจกรรม

..............ความหมายของสื่อการสอนประเภทกิจกรรม
สื่อการสอนประเภทกิจกรรม หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์หรือเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนด้วยการดู การฟัง การสังเกต การทดลอง การสัมผัสจับต้องด้วยตนเอง
..............คุณค่าของสื่อการสอนประเภทกิจกรรม
สื่อการสอนประเภทกิจกรรมที่ดีมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดขอบข่ายเนื้อหา วัตถุประสงค์ วิธีการเข้าร่วมกิจกรรมและประเมินผลกิจกรรม กิจกรรมต้องตรงกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายของบทเรียนที่กำหนดไว้
..............ประเภทของสื่อประเภทกิจกรรม
สื่อแต่ละชนิดมีรายละเอียด ดังนี้
1. การสาธิต (demonstration) คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ โดยการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
การสอนแบบสาธิตมีคุณค่าหลายประการ
1.1 คุณค่าของการสาธิต
1.1.1 เป็นจุดรวมความสนใจของผู้เรียน
1.1.2 การสาธิตเหมาะกับการแสดงเนื้อหาที่เกี่ยวกับกระบวนการได้ดี
1.1.3 การสาธิตเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง
1.1.4 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน
1.1.5 สามารถใช้กับกระบวนการเรียนการสอนได้ทั้งวิชาที่ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ประกอบ และวิชาที่มีลักษณะที่ต้องอาศัยการบรรยาย
1.1.6 ประหยัดค่าใช้จ่าย
1.2 ประเภทของการสาธิต แบ่งออกไดเป็น 2 ชนิด คือ
1.2.1 การสาธิตวิธี คือ วิธีการแสดงวิธีทำสิ่งต่างๆ
1.2.2 การสาธิตผล คือ การแสดงให้เห็นผลจากการกระทำตามกระบวนการ
1.3 วัตถุประสงค์ในการสาธิต มีดังนี้ 1.3.1 เพื่อกระตุ้นความสนใจผู้เรียน
1.3.2 เพื่อถ่ายทอดความรู้ 1.3.3 เพื่อสร้างความเข้าใจในเนื้อหา
1.3.4 เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดต่างๆ
1.4 ขั้นตอนในการสาธิต มีขั้นตอนในการดำเนินงาน 3 ขั้น
1.4.1 ขั้นการเตรียม เป็นขั้นการรวบรวมเนื้อหา วัสดุอุปกรณ์ การซักซ้อมขั้นตอนการสาธิตก่อนลงมือสาธิตจริง
1.4.2 ขั้นการสาธิต เป็นขั้นการแสดงวิธีการประกอบการบรรยาย
1.4.3 ขั้นการประเมินผล เมื่อสาธิตเสร็จควรประเมินผลทันที
1.5 ข้อดีและข้อจำกัดของการสาธิต
2. การจัดนิทรรศการ หมายถึง การนำเอาทัศนวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนมาแสดงเพื่อเป็นการสื่อสารทางความคิดและความรู้ให้กับบุคคลระดับต่างๆ
2.1 คุณค่าของนิทรรศการ
2.2 ประเภทของนิทรรศการ
2.3 หลักการออกแบบนิทรรศการ
2.4 เกณฑ์การพิจารณานิทรรศการ
2.5 ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการ

3. ประสบการณ์นาฏการ หมายถึง ประสบการณ์ที่ใช้แทนประสบการณ์จริง แต่มิได้หมายความว่าจะต้องเหมือนกับประสบการณ์จริงทุกประการ
3.1 คุณค่าของประสบการณ์นาฏการ
3.2 ประเภทของนาฏการ นาฏการแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ นาฏการที่แสดงด้วยคนและนาฏการที่แสดงด้วยหุ้น
4. การใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา หมายถึง การใช้แหล่งวิชาการและสภาพแวดล้อมของชุมชนให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้
4.1 ประโยชน์ของการใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา
4.2 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในชุมชน
4.3 วิธีการใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา
5. สถานการณ์จำลอง เป็นการจัดสภาพแวดล้อมเลียนแบบของจริงให้ใกล้เคียงสภาพความเป็นจริงให้มากที่สุด
5.1 การใช้สถานการณ์จำลองในการเรียนการสอน
5.2 ขบวนการแก้ปัญหาในสถานการณ์จำลอง
5.3 คุณค่าของการใช้สถานการณ์จำลองในการเรียนการสอน
6. การศึกษานอกสถานที่ หมายถึง กิจกรรมที่พาผู้เรียนออกไปหาประสบการณ์นอกห้องเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนที่สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้
6.1 คุณค่าของการศึกษานอกสถานที่ ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตร

7. กระบวนการกลุ่ม เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับความรู้จากการลงมือร่วมกันปฏิบัติเป็นกลุ่ม
7.1 การจัดการเรียนกระบวนการกลุ่ม หลักการสอนตมทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์
7.2 ข้อดีและข้อจำกัดของกระบวนการกลุ่ม
ข้อดี ได้แก่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการทำงานร่วมกันและทักษะทางสังคม ค้นพบ ความรู้และสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง
ข้อจำกัด ได้แก่ ใช้เวลาในการทำกิจกรรมค่อนข้างมาก ผู้นำกลุ่มต้องมีความรู ความสามารถ มีทักษะและประสบการณ์ในการดูแล




บทที่ 8 นวัตกรรมการศึกษา

............บทเรียนโปรแกรม
บทเรียนโปรแกรม หมายถึงการจัดลำดับประสบการณ์ที่จัดวางไว้สำหรับนำผู้เรียนไปสู่ความสามารถโดยอาศัยหลักความสัมพันธ์ของสิ่งเร้า กับการตอบสนอง
1. พื้นฐานทางจิตวิทยาของบทเรียนโปรแกรม
เป็นพื้นฐานของการสร้างบทเรียนโปรแกรมเป็นทฤษฎีแนวพฤติกรรมนิยมที่สำคัญ คือ ทฤษฎีการวางเงื่อนไข โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการเสริมแรง ทฤษฎีเหล่านี้เชื่อว่าพฤติกรรมเกิดจากการวางเงื่อนไขของการแสดงออกมา อาจเป็นได้ทั้งพฤติกรรมทางสมอง (cognitive) กล้ามเนื้อ (psychomotor) และความรู้สึก
2. ลักษณะของบทเรียนโปรแกรม ลักษณะของบทเรียนโปรแกรมดังนี้คือ
2.1 การแข่งขันการเรียนรู้เป็นหน่วยย่อยๆ
2.2 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างกระฉับกระเฉง
2.3 ให้ผู้เรียนได้ทราบผลการเรียนของตนเองอย่างทันทีทันใด
2.4 ให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนเป็นระยะๆ
3. ประเภทของบทเรียนโปรแกรม แบ่งตามลักษณะและวิธีการเขียนเป็น 2 ประเภท
3.1 บทเรียนโปรแกรมแบบเส้นตรง
3.2 บทเรียนโปรแกรมแบบ สาขา
4. ข้อดี และข้อจำกัดของบทเรียนโปรแกรม
สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนครูและใช้สอนซ่อมเสริมได้ดี ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี

..........ชุดการสอน
ชุดการสอน หมายถึง การวางแผนการเรียนการสอนโดยใช้สื่อต่างๆ รวมกันเพื่อสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง
1. ทฤษฎีก่อให้เกิดชุดการสอน มีหลายทฤษฎีที่สำคัญ คือ
1.1 การใช้สื่อประสม
1.2 การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
1.3 การใช้หลักจิตวิทยาการเรียนรู้มาจัดสภาพ
2. ประเภทชุดการสอน ที่ใช้อยู่ ในปัจจุบันมี 3 ประเภท
2.1 ชุดการสอนประกอบคำบรรยาย
2.2 ชุดการสอนแบบกลุ่มเล็ก
2.3 ชุดการสอนรายบุคคล
3. องค์ประกอบของชุดการสอน มีรายละเอียดแตกต่างกัน
3.1 คำชี้แจง
3.2 จุดมุ่งหมาย
3.3 การประเมินผลเบื้องต้น
3.4 รายการเนื้อหาวิชาและสิ่งที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
3.5 กำหนดกิจกรรม
3.6 การประเมินผลขั้นสุดท้าย
4. ประโยชน์ของชุดการสอน ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน และการเรียนรู้เป็นอิสระจากอารมณ์ของครู
...........ศูนย์การเรียน
ศูนย์การเรียน คือ การจัดบรรยากาศ ที่ส่งเสริมการเรียรรู้ของนักเรียนโดยมุ่งให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองจากโปรแกรมการเรียน
1. แนวคิดในการจัดการศูนย์การเรียน การให้ผู้เรียนลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง ให้ได้รับทราบผลการกระทำในทันที
2. ประเภทของศูนย์การเรียน มีหลายประเภท
1.1 ศูนย์การเรียนในห้องเรียน เป็นการจัดศูนย์การเรียนอย่างง่าย
1.2 ศูนย์การเรียนเอกเทศ เป็นการจัดศูนย์การเรียนที่แยกเป็นอิสระ
3. การสอนแบบศูนย์การเรียน เป็นการจัดสภาพห้องเรียนรูปแบบใหม่ที่เน้นให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมในการเรียนด้วยตนเอง
4. ขันตอนการเรียนในศูนย์การเรียน
4.1 ทดสอบก่อนเรียน
4.2 นำเข้าสู่บทเรียน
4.3 ดำเนินกิจกรรมการเรียนโดยแบ่งกลุ่มเรียน
4.4 สรุปบทเรียน
4.5 ประเมินผลการเรียน
5. ประโยชน์ของศูนย์การเรียน สร้างบรรยากาศในการเรียนและเพิ่มความสนใจของผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
การสอนแบบจุลภาค
...........การสอนแบบจุลภาค
การสอนแบบจุลภาค คือ การสอนในสถานการณ์จำลองห้องเรียนง่ายๆ เป็นการสอนที่มุ่งฝึกทักษะเฉพาะในการสอน
1. หลักการที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบจุลภาค มีดังนี้
1.1. การเสริมแรง
1.2 การรับรู้ผลย้อนกลับ
1.3 การฝึกซ้ำหลายๆ ครั้ง
1.4 การถ่ายโยงการเรียนร
2. ทักษะการสอนแบบจุลภาค เป็นทักษะที่มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพในการสอนของครู
2.1 ทักษะสำหรับครูเป็นศูนย์กลาง
2.2 ทักษะสำหรับผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
3. ขั้นตอนของการสอนแบบจุลภาค มีขั้นตอนดั้งนี้
3.1 ขั้นศึกษาทักษะที่ต้องการฝึก
3.2 ขั้นเลือกเนื้อหาและวางแผนการสอน
3.3 ขั้นสอน
3.4 ขั้นวิเคราะห์ผลการสอน
3.5 ขั้นตัดสินใจ
3.6 ขั้นจบกระบวนการสอน
4. ข้อดีและข้อจำกัดของการสอนแบบจุลภาค ช่วยให้อาจารย์นิเทศปรับปรุงวิธีสอนของตน เปิดโอกาสให้ผู้สอนได้ทดลองสอนจนพอใจ
.............การสอนเป็นคณะ
การสอนเป็นคณะ เป็นวิธีดำเนินการสอนแบบที่เน้นการใช้บุคคลให้มี ประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
1. วัตถุประสงค์ของการสอนเป็นคณะ
1.1 ปรับปรุงประสิทธิภาพของการสอน
1.2 ส่งเสริมการดำเนินชีวิตแบบประชาธิปไตย
1.3 มีเวลาให้ผู้เรียนมาก
1.4 แก้ปัญหาจำนวนนักเรียนให้ห้องเรียน
1.5 ส่งเสริมพัฒนาการ ด้านต่าง
1.6 แก้ปัญหาความไม่ยุติธรรม
2. รูปแบบของการสอนเป็นคณะ ทำการสอนโดยจัดรูปแบบต่างๆ คือ
2.1 แบบมีผู้นำคณะ
2.2 แบบไม่มีผู้นำคณะ
2.3 แบบครูพี่เลี้ยง
3. วิธีการดำเนินการสอนเป็น
3.1 การสอนเป็นกลุ่ม
3.2 ความคิดรวบยอด
3.3 การสอนเป็นกลุ่มเล็ก
3.4 การค้นคว้าด้วยต้นเอง
4. ข้อดีและข้อจำกัดของการสอนเป็นคณะ

...............การสอนทางไกล
การสอนทางไกล หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียน และ ผู้สอนอยู่ไกลกันแต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสม โดยใช้สื่อต่างๆ การสอนทางไกล เป็นระบบการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหลายๆอย่าง เข้ามาสนับสนุนซึ่งกันและกัน


บทที่ 9 คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

.............ระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์จะทำงานให้สมบูรณ์ด้วยส่วนประกอบที่สัมพันธ์กัน 3 ส่วน ดังนี้
1. การป้อนข้อมูล หมายถึง ส่วนที่นำข้อมูลต่างๆ ป้อนเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์
2. การประมวลผล หมายถึง ส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ในการคำนวณ
3. การแสดงผล หมายถึง ส่วนที่ทำห
ได้แก่น้าที่แสดงผลจากการคำนวณของ CPU
..............ระบบการทำงานของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ออกเป็น 5 ส่วน
1. หน่วยรับเข้า ทำหน้าที่รับคำสั่ง
2. หน่วยประมวลผลกลางหรือ ซีพียู จัดเก็บคำสั่ง
3. หน่วยความจำ ทำหน้าที่จัดเก็บคำสั่ง
4. หน่วยแสดงผล ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้มา แสดงในรูปแบบต่างๆ
5. ส่วนประสานกับอุปกรณ์อื่น ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ ในลักษณะเครือข่าย

...........การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในสถานศึกษา
1. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนโดยตรง
คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนโดยตรงได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงคำนึงถึงองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ความรู้เบื้องต้นในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนการสอน
2. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
ปัจจุบันการออกแบบสื่อการเรียนการสอนสามารถทำได้อย่างรวดเร็วโดยการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
3. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือการค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้ทั่วไป
4. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนรู้ มีลักษณะเป็นบทเรียนสำเร็จรูปที่ผู้เรียนสามารถศึกษาและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองที่ไหนและเมื่อใดก็ได้ โดยไม่มีครูผู้สอนกำกับดูแลโดยตรง การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนรู้ให้ได้ผลดี ควรคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ
4.1 เนื้อหาบทเรียน
4.2 การนำเสนอ
4.3 เทคนิคการเชื่อมโยง
.............รูปแบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้
นิยมนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ ได้แก่
1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.1 ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง สื่อการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
1.2 คุณค่าของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มุคุณค่าต่อการเรียนการสอนในแง่ของการฝึกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
1.3 คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.4 ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดี ผู้เรียนแต่ละคนสามารถเรียนได้ตามความพร้อมและความถนัดของตนเอง
2. อินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ ที่เชื่อมโยงติดต่อกันทั่วโลก
2.1 มาตรฐานการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นระบบ LAN, MAN หรือ WAN ใช้ชื่อว่า TCP/IP TCP ทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบ ส่วน IP ทำหน้าที่ในการกำหนดที่อยู่ของคอมพิวเตอร์
2.1 การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อได้ 2 วิธี
2.1.1 การเชื่อมต่อโดยตรง
2.1.2 การเชื่อมต่อผ่านผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
2.3 ประเภทของอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
2.3.1 อินทราเน็ต (Intranet)
2.3.2 เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet)
2.4 อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา เราสามารถใช้อินเตอร์เน็ตในการศึกษาได้หลายรูปแบบ
2.5 การค้นหาความรู้ทางอินเตอร์เน็ต และอินทราเน็ต
3. การเรียนรู้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ครอบคลุมการเรียนรู้จากสื่อทุกชนิดที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการบันทึก การจัดระบบ การเผยแพร่เพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เนื่องจากการเรียนการสอนแบบอี-เลิร์นนิ่ง เป็นระบบที่มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อวงการศึกษา
3.1 ลักษณะสำคัญของอี-เลิร์นนิ่ง มี่ลักษณะต่างจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนทั่วไป ผู้สอนกับผู้เรียนไม่ได้อยู่ต่อหน้ากันโดยตรง
3.2 บริบทที่เกี่ยวข้องกับอี-เลิร์นนิ่ง ในฐานเป็นกระบวนการถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีบทบาทสำคัญของการเรียนการสอนแบบอิ-เลิร์นนิ่ง ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจากการถ่ายทอดเนื้อหาแบบสื่อประสมช่วยให้การเรียนรู้มีความคงทนกว่าการเรียนรู้จากสื่ออย่างเดียว


บทที่ 10 การผลิตงานกราฟิก

.............วัสดุที่ใช้ในการผลิตงานกราฟิก
งานกราฟิกเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดในการออกแบบโดยการขีดเขียน แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรมด้วยวัสดุต่างๆ เช่น
1. กระดาษ ทำจากเยื่อไม้มีหลายชนิดมีคุณสมบัติและคุณภาพแตกต่างกัน
1.1 กระดาษโปสเตอร์ มี 2 ชนิด ชนิดหนามีหน้าเดียว มีคุณสมบัติแข็ง เหมาะกับการเขียนโปสเตอร์ ชนิดบางมี 2 หน้า มีคุณสมบัติอ่อนกว่าชนิดหน้าเดียว เหมาะกับงานป้ายนิเทศ
1.2 กระดาษหน้าขาวหลังเทา เหมาะกับการทำบัตรคำ แผนภูมิ แผนภาพ พื้นภาพผนึก
1.3 กระดาษวาดเขียน เยื่อกระดาษไม่แน่นทำให้ดูดซับน้ำได้ดี เหมาะกับการวาดภาพด้วยดินสอ
1.4 กระดาษชาร์ทสี เป็นกระดาษที่มีผิวมันเรียบ เยื่อกระดาษแน่นเหนียวกว่ากระดาษโปสเตอร์ และกระดาษวาดเขียน
1.5 กระดาษอาร์ตมัน เป็นกระดาษที่มีผิวมันเยื่อแน่นเหนียว ไม่ค่อยดูดซับน้ำ
1.6 กระดาษปอนด์ เป็นกระดาษชนิดบางเยื่อกระดาษไม่แน่น
1.7 กระดาษลูกฟูก เป็นกระดาษที่มีลักษณะหนามาก โครงสร้างตรงกลางเป็นลูกฟูก
2. สี ที่ใช้ในงานกราฟิก สามารถจำแนกได้หลายวิธี คือ
2.1 จำแนกตามคุณสมบัติของวัตถุที่ใช้ผสม ได้แก่สีเชื้อน้ำ สีเชื้อน้ำมัน
2.2 การจำแนกตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ สีที่ใช้สำหรับงานเขียน และสีที่ใช้สำหรับงานพิมพ์
2.3 จำแนกตามคุณสมบัติทางกายภาพได้แก่ สีแห้ง สีฝุ่น สีเหลว หมึกสี สีของแสง
3. วัสดุขีดเขียน ที่ใช้ในงานกราฟิกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
3.1 วัสดุแข็ง ได้แก่ ปากกาและดินสอนชนิดต่างๆ
3.2 วัสดุอ่อน ได้แก่ พู่กัน แปรงทาสี และลูกกลิ้ง
4. วัสดุอื่นๆ ที่ใช้ในงานกราฟิกมีหลายชนิด เช่น ไม้ฉาก ไม้ที มีดคัดเตอร์ กาวน้ำ กระดาษกาว เทปกาว กรรไกร ไม้บรรทัด
.............ภาพการ์ตูน
1.ความหมายของการ์ตูน
การ์ตูน หมายถึง ภาพลายเส้นหรือภาพวาดที่มีลักษณะผิดเพี้ยนความจริง แต่ก็ยังยึดหลักเกณฑ์ของความจริงอยู่บ้าง
การ์ตูน เมื่อถูกนำมาใช้งานลักษณะต่างกันจะมีชื่อเรียกต่างกัน เช่น
โคมิก หมายถึง การ์ตูนเรื่องที่มีเรื่องราวต่อเนื่องกันหลายภาพ
คาริคาร์เตอร์ หมายถึง ภาพล้อเลียนที่แสดงการเปรียบเปรยให้ดูขบขัน
2. การ์ตูนกับการเรียนการสอน การ์ตูนมีบทบาทสำคัญยิ่งกับการเรียนการสอนและได้กลายเป็นสื่อการเรียนการสอนที่ดีทำให้เด็กๆชอบ
3. รูปลักษณะของการ์ตูน การ์ตูนที่นำมาใช้กับสื่อการเรียนการสอนในปัจจุบันมี 3 ลักษณะ
3.1 การ์ตูนโครงร่างหรือการ์ตูนก้านไม้ขีด เป็รการ์ตูนอย่างง่ายที่เขียนโดยใช้เว้นเดี่ยวๆ
3.2 การ์ตูนล้อเลียนของจริง เป็นภาพที่เขียนบิดเบือนให้ผิดเพี้ยนไปจากความจริง
3.3 การ์ตูนเลียนของจริง เป็นการ์ตูนที่มีลักษณะและสัดส่วนคล้ายกับของจริงตามธรรมชาติทั้งสัดส่วน รูปร่าง ท่าทาง และสภาพแวดล้อม
4. เทคนิคการเขียนภาพการ์ตูน
4.1 การเขียนภาพการ์ตูนลายเส้นธรรมดา มุ่งเน้นให้เกิดอารมณ์ตลกขบขันบิดเบี้ยวของเส้นและสี
4.2 การวาดภาพการ์ตูนเรื่อง ผู้เรียนสามารถพัฒนาประสบการณ์และความมั่นใจต่อไป
5. ประโยชน์ของการเขียนภาพการ์ตูน
5.1 ด้านร่างกาย
5.2 ด้านอารมณ์
5.3 ด้านสังคม
5.4 ด้านสติปัญญา
............ตัวอย่าง
1. การประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยมือโดยตรง เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด
1.1 การประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยพู่กันแบน
1.2 ขั้นตอนการเขียนตัวอักษรด้วยพู่กันแบน
1.3 การประดิษฐ์ตัวอักษรหัวเรื่อง
2. การประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยเครื่องมือ ที่ใช้ในการประดิษฐ์ตัวอักษร
2.1 เท็มเพลท เป็นแบบตัวอักษรที่เจาะทะลุเป็นตัวๆ
2.2 ตัวอักษรลีรอย เป็นอักษรบนไม้บรรทัด
2.3 ตัวอักษรลอก เป็นตัวอักษรบนแผ่นพลาสติก
2.4 เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องที่มีประโยชน์ในการใช้งานแทบทุกสาขาอาชีพ
โดยเฉพาะการออกแบบกราฟิกคอมพิวเตอร์สามารถตอบสนองจินตนาการของนักออกแบบได้อย่างไร้ขีดจำกัด




วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ไม่มีความคิดเห็น: